สวัสดีครับ
ก่อนที่ผู้ปฏิบัติงานOperator(作業者)จะเริ่มงานจะมีการตรวจเช็คก่อนเริ่มงาน(始業点検)ประกอบด้วยคำว่า始業ซึ่งแปลว่าเริ่มงาน ตรงข้างกับคำว่า終業เลิกงาน กับคำว่า点検แปลว่าตรวจเช็ค ตรวจสภาพ โดยหลังจากสตาร์ทเครื่องจักรแล้วจะมีการลองผลิต 1-5ชิ้นแล้วแต่จะกำหนด แล้วดูว่าชิ้นงานที่ผลิตออกมานั้นยังอยู่ในค่าที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้ามีชิ้นงานที่ไม่อยู่ในค่าที่กำหนดก็ต้องปรับเครื่องจักรให้ผลิตชิ้นงานให้อยู่ในค่าที่กำหนด ถ้าทุกชิ้นงานที่ผลิตอยู่ในค่าที่กำหนด ก็เริ่มผลิตได้ตามปกติ ในแต่ละวันจะมีผู้ปฏิิบัติงานตรวจเช็คและลงบันทึกเก็บไว้ในเอกสารที่ชื่อว่า Check sheet(始業点検チェックシート)ส่วนว่าในระหว่างวันจะมีการตรวจเช็คอีกหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงานจะกำหนด อาจจะมีตรวจเช็คอีกทีหลังพักเบรค หรือหลังเลิกงาน หรือทุกครั้งหลังเปลี่ยนรุ่น ไม่ก็แค่ครั้งเดียวก่อนเริ่มงาน
วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561
วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561
ศัพท์เกี่ยวกับเครื่องมือช่วยในการผลิต

สวัสดีครับ
จากที่ก่อนหน้านี้เราพูดกันถึงเรื่องศัพท์เรื่องการผลิตและการตรวจวัดไปแล้ว วันนี้จะเป็นศัพท์เกี่ยวกับ เครื่องมือที่ช่วยในการผลิตกันครับ
คำแรกที่คิดว่าต้องเจอแน่ๆ คือคำว่าJIGแปลเป็นไทยว่าตัวนำแนว แต่ส่วนมากจะทับศัพท์ไปเลย ในภาษาญีปุ่นใช้คันจิเป็นคำพ้องเสียงว่า治具ซึ่งจะเห็นว่าโดยความหมายในตัวคันจิแล้วไม่สื่อเลยมีตัว具ตัวเดียวที่พอจะหมายถึงเครื่องมือ
โดยมากJIGมักจะใช้คู่กับเครื่องจักร มีใช้ในหลายวัตถุประสงค์ ทั้งใช้ในการยึดชิ้นงานช่วยในการประกอบให้ง่ายขึ้น ช่วยในการยึดชิ้นงานให้ทำเครื่องหมายStampบนตัวชิ้นงานได้ง่ายขึ้นตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ และJIG ที่ช่วยในการเช็คว่าที่เราประกอบไปใช้งานได้หรือไม่เรียกว่าJIG CHECK(検具)น่าจะมาจากคำว่า検査治具
ส่วนใหญ่จะทำด้วยโลหะ ถ้าโรงงานไหนมีโรงหล่อ ก็สามารถหล่อJIGขึ้นใช้เองได้ ถ้าเป็นงานที่มีหลายรุ่นก็จะทำJIGแยกตามรุ่น หรือบางทีก็สามารถใช้ร่วมกันได้Common(共通)ก็ทำแค่ตัวเดียว เราสามารถหาความรู้ได้เพิ่มเติมโดยใช้คำศัพท์เหล่านี้เป็น Keywordในการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต
วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561
ศัพท์เกี่ยวกับตรวจวัดขนาด
สวัสดีครับ
วันนี้เราจะมีเรียนรู้ศัพท์ที่เกี่ยวกับการตรวจวัดกันครับ
วันนี้เราจะมีเรียนรู้ศัพท์ที่เกี่ยวกับการตรวจวัดกันครับ
คำแรกคือคำว่าขนาด Dimension(寸法)ซึ่งคำนี้เราได้รู้จักกันไปแล้วในบทความที่แล้วเส้นผ่าศูนย์กลางDiameter(直径)ซึ่งก็จะมีคำศัพท์ที่เจาะลึกลงไปอีกว่าเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกหรือภายใน ภายนอกคือ外径ภายในคือ内径รัศมีคือ半径
การตรวจวัด
มีใช้อยู่หลายคำคือคำว่า 測定、精測、計測ถ้าศัพท์ที่เราเรียนมาก็คือ測る、計るนั่นแหละครับ เครื่องมือสำหรับตรวจวัดก็เรียกได้หลายอย่าง เช่น 測定工具・計測機器เป็นต้น เครื่องมือตรวจวัดต่างๆ จะต้องมีการสอบเทียบCalibration(校正)กับตัวMasterเพื่อดูว่าเครื่องมือตรวจวัดของเรายังคงวัดค่าได้อย่างถูกต้องแม่นยำอยู่หรือไม่ การสอบเทียบนี้ต้องทำเป็นอย่างสม่ำเสมออาจจะปีครั้ง หรือปีละ2ครั้งเป็นต้น ในบริษัทที่ผมทำงานอยู่จะเรียกว่า การสอบเทียบตามวาระ定期校正 เมื่อสอบเทียบเสร็จก็จะมีเป็นสติ๊กเกอร์ติดที่ตัวเครื่องมือเพื่อเตือนว่าการสอบเทียบครั้งต่อไปจะทำเมื่อไร และจะมีอีกคำหนึ่งคือคำว่าหนึ่งคือคำว่า 補正ถ้าเปิดในเว็บดิกชันนารี่ไทยญี่ปุ่น จะแปลว่าการแก้ไขตัวเลข ซึ่งคำนี้ค่อนข้างจะเป็นศัพท์เทคนิคสักนิดนึง ประมาณว่าเป็นการปรับแก้ตัวเลขให้สามารถนำค่าตัวเลขที่วัดได้มาใช้งานได้ ค่าที่วัดได้ตอนแรกจะยังนำมาใช้ไม่ได้ต้องปรับแก้ตัวเลขก่อน อันนี้คือเท่าที่ผมเข้าใจนะครับ เพียงแต่บอกไว้ว่ามีคำนี้อยู่ ผมเจอตอนล่ามแปลคำนี้ไม่ออกเพราะไม่รู้จักคำนี้มาก่อน ถ้าเรารู้ก่อนก็จะทำให้การล่ามของเราไม่สะดุด ถ้าเจอคำนี้ก็แปลว่าปรับแก้ตัวเลข หรือแก้ไขตัวเลขไปก็ได้ คิดว่าคนไทยที่รู้เรื่องอยู่แล้วน่าจะเข้าใจ
วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2561
ศัพท์ด้านการเกี่ยวกับออกแบบ
สวัสดีครับ
การที่เราจะสร้างชิ้นงานอะไรสักอย่าง เราก็ต้องมีการออกแบบชิ้นงานก่อนใช่ไหมครับ
การออกแบบDesignคือคำว่า 設計 ส่วนใหญ่จะออกแบบด้วยโปรแกรมAuto-CADซึ่งเป็นโปรแกรมออกแบบที่ทำออกมาเป็นภาพ 2 มิติ ด้านบน ด้านข้าง ด้านหน้า เป็นต้น หรือที่เราเรียกว่าแบบแปลน Drawing (図面)เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการผลิตชิ้นงาน ซึ่งจะระบุขนาดDimension(寸法)ของชิ้นงาน และคำสั่งต่างๆ เช่นให้ใช้วัสดุประเภทนี้ ทาด้วยสีแบบนี้ เป็นต้น ถ้าเราเป็นผู้ผลิต(メーカー)เราก็จะได้รับDrawing นี้จากทางลูกค้า ที่สั่งให้เราผลิตให้ได้ตามDrawingนี้ หลังจากที่ออกแบบแล้วอาจจะมีปัญหาขัดข้องบางประการ เช่น พอนำไปประกอบจริงแล้วใช้ไม่ได้ต้องมีการปรับแก้ที่แบบ การแก้แบบDesign change 設変(せっぺん)ย่อมาจากคำว่า設計変更
น่ีก็เป็นศัพท์พื้นฐานที่ต้องเจอ ผมเขียนตามความเข้าใจและมุมมองของล่ามครับ หากท่านใดสนใจจะหารายละเอียดเพิ่มเติม ก็ลองค้นหาทางอินเตอร์เน็ตได้เลยครับ
วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561
ศัพท์เบื้องต้นเกี่ยวกับการผลิต1
สวัสดีครับ
จากคราวที่แล้วเราได้รู้จักกับภาพรวมของการผลิตในโรงงานไปแล้ว คราวนี้เราจะมาเจาะลึกในเรื่องของการผลิต ซึ่งการผลิตจะใช้คำว่า 生産หรือบางทีก็ใช้คำว่า製造ซึ่งแปลว่าผลิตเหมือนกันแต่บางทีก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้คู่กับคำว่าอะไรเช่น生産計画、製造業者เป้็นต้น
คำต่อไปคือคำว่า 工程 กระบวนการ ภาษาอังกฤษว่า Process
ส่วนคำในจำพวกเดียวกันคือ ライン ไลน์(การผลิต) Line (ไม่ใช่แอพพิเคชั่นไลน์นะครับ)
งานดี คือ 良品 หมายถึงงานที่ผลิตแล้วใช้ได้นำไปขายได้ บางทีเรียกว่าOK品
ส่วนคำว่างานเสีย มีได้หลายคำที่ตรงคำว่า 不良品หรือ不良เฉยๆก็ได้ บางทีก็จะเรียกว่า NG品จะมีคำที่เป็นSetเลยก็คือคำว่า 工程内不良แปลว่าของเสียในกระบวนการ
คำต่อไปที่หมายถึงงานเสียคือคำว่า 不適合品 แปลตรงตัวว่า ชิ้นงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
不具合品คืองานที่เป็นปัญหามีข้อบกพร่อง
เป็นอย่างไรบ้างครับ ได้หลายคำเลย ตอนแรกว่าจะให้ศัพท์วันละคำสองคำ แต่เนื่องจากคำอธิบายแต่ละศัพท์มีน้อย จึงให้ไปหลายศัพท์แทนครับ
จากคราวที่แล้วเราได้รู้จักกับภาพรวมของการผลิตในโรงงานไปแล้ว คราวนี้เราจะมาเจาะลึกในเรื่องของการผลิต ซึ่งการผลิตจะใช้คำว่า 生産หรือบางทีก็ใช้คำว่า製造ซึ่งแปลว่าผลิตเหมือนกันแต่บางทีก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้คู่กับคำว่าอะไรเช่น生産計画、製造業者เป้็นต้น
คำต่อไปคือคำว่า 工程 กระบวนการ ภาษาอังกฤษว่า Process
ส่วนคำในจำพวกเดียวกันคือ ライン ไลน์(การผลิต) Line (ไม่ใช่แอพพิเคชั่นไลน์นะครับ)
งานดี คือ 良品 หมายถึงงานที่ผลิตแล้วใช้ได้นำไปขายได้ บางทีเรียกว่าOK品
ส่วนคำว่างานเสีย มีได้หลายคำที่ตรงคำว่า 不良品หรือ不良เฉยๆก็ได้ บางทีก็จะเรียกว่า NG品จะมีคำที่เป็นSetเลยก็คือคำว่า 工程内不良แปลว่าของเสียในกระบวนการ
คำต่อไปที่หมายถึงงานเสียคือคำว่า 不適合品 แปลตรงตัวว่า ชิ้นงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
不具合品คืองานที่เป็นปัญหามีข้อบกพร่อง
เป็นอย่างไรบ้างครับ ได้หลายคำเลย ตอนแรกว่าจะให้ศัพท์วันละคำสองคำ แต่เนื่องจากคำอธิบายแต่ละศัพท์มีน้อย จึงให้ไปหลายศัพท์แทนครับ
เริ่มต้นด้วยภาพรวมการทำงานของโรงงานแบบคร่าวๆ
สวัสดีครับน้องๆ
ที่เรียนจบเอกภาษาญี่ปุ่นมาใหม่ๆ แล้วสนใจอยากจะทำงานเป็นล่าม
เว็บไซต์นี้จะแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรงงานและศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในโรงงาน
เพื่อให้น้องๆ มีความรู้พื้นฐานพอที่ปรับตัวกับการเป็นล่ามในโรงงานได้เร็วขึ้น
โดยที่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์
ตัวผมเองก็ไม่ได้เก่งหรือมีประสบการณ์ทางด้านล่ามโรงงานอะไรมากมาย
แค่นึกถึงตัวเองตอนที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ ไม่รู้อะไรเลย
ใช้เวลาในการปรับตัวค่อนข้างนาน เลยคิดว่าน่าจะมีเว็บที่แนะนำน้องๆจบใหม่ที่คิดจะทำงานเป็นล่ามแต่ไม่ความรู้โรงงานอะไรเลย
ว่ามีศัพท์อะไรที่เราต้องเจอบ้าง มีความรู้พอเป็นพื้นฐานนิดหน่อยก็น่าจะเพิ่มความมั่นใจในการเป็นล่ามได้มากยิ่งขึ้น
สิ่งที่เรียนในห้องเรียนนำมาใช้ได้แค่ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะไวยากรณ์
ส่วนศัพท์ส่วนมากจะรู้หลังจากเข้ามาทำงานแล้ว
เริ่มแรกก่อนที่จะผลิตอะไรได้ก็ต้องมีวัตถุดิบ(素材、材料)เพื่อนำมาผลิตเป็นชิ้นงาน(部品、パーツ)หรือผลิตภัณฑ์(製品)วัตถุดิบที่ว่าก็จะได้มาจากผู้ผลิต(メーカー、サプライヤー)ซึ่งแผนกในบริษัทที่จัดหาและประสานงานกับผู้ผลิตก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
เช่น 調達部、購買部、purchase部เป็นต้น โดยจะเลือกผู้ผลิตที่ราคาถูกและมีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน
ซึ่งการที่จะเริ่มผลิตโดยเริ่มจากรุ่นใหม่New model(新機種)ต้องเริ่มจาก
1.
การเตรียมการวางแผนทั้งเรื่องการสั่งซื้อ,เตรียมวัตถุดิบ, ราคา เป็นต้น (計画、段取り)
2.
เมื่อเตรียมการสั่งซื้อวัตถุดิบมาแล้วก็ต้องทำการนำวัตถุดิบที่สั่งซื้อมาทำการผลิต
ทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดยทดสอบชิ้นงานจำนวนน้อยๆ ก่อน(試作)
3.
ถ้าทดลองประกอบ ทำการทดสอบแล้วผ่าน ก็จะเป็นการทดลองประกอบจำนวนมากว่า
ทดสอบจำนวนน้อยไม่มีปัญหาแล้วถ้าทดลองประกอบเป็นจำนวนมากๆ แล้วจะมีปัญหาหรือไม่(量産試作)
4.
ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการเริ่มผลิตใช้จริงจำนวนมาก (量産)
เมื่อผลิตได้แล้วก็จะมีการจัดส่งไปยังลูกค้า (お客さん、客先、顧客)โดยแผนกPDCที่มีหน้าที่ประสานงานกับลูกค้าโดยตรง
เริ่มต้นครั้งแรก ให้เห็นภาพรวมก่อนเลยจะมีศัพท์เยอะหน่อย ต่อไปจะค่อยๆ
ทยอยแนะนำศัพท์ที่ละคำ2คำครับ หากท่านใดที่เข้าไปทำงานแล้ว ไม่ตรงตามนี้
ก็ขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ เพราะผมเล่าตามความเข้าใจและประสบการณ์ของตัวเองครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)