วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2561

เริ่มต้นด้วยภาพรวมการทำงานของโรงงานแบบคร่าวๆ


สวัสดีครับน้องๆ ที่เรียนจบเอกภาษาญี่ปุ่นมาใหม่ๆ แล้วสนใจอยากจะทำงานเป็นล่าม เว็บไซต์นี้จะแนะนำความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรงงานและศัพท์ต่างๆ ที่ใช้ในโรงงาน เพื่อให้น้องๆ มีความรู้พื้นฐานพอที่ปรับตัวกับการเป็นล่ามในโรงงานได้เร็วขึ้น โดยที่ไม่ต้องเริ่มจากศูนย์
ตัวผมเองก็ไม่ได้เก่งหรือมีประสบการณ์ทางด้านล่ามโรงงานอะไรมากมาย แค่นึกถึงตัวเองตอนที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ ไม่รู้อะไรเลย ใช้เวลาในการปรับตัวค่อนข้างนาน เลยคิดว่าน่าจะมีเว็บที่แนะนำน้องๆจบใหม่ที่คิดจะทำงานเป็นล่ามแต่ไม่ความรู้โรงงานอะไรเลย ว่ามีศัพท์อะไรที่เราต้องเจอบ้าง มีความรู้พอเป็นพื้นฐานนิดหน่อยก็น่าจะเพิ่มความมั่นใจในการเป็นล่ามได้มากยิ่งขึ้น สิ่งที่เรียนในห้องเรียนนำมาใช้ได้แค่ส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะไวยากรณ์ ส่วนศัพท์ส่วนมากจะรู้หลังจากเข้ามาทำงานแล้ว
เริ่มแรกก่อนที่จะผลิตอะไรได้ก็ต้องมีวัตถุดิบ(素材、材料)เพื่อนำมาผลิตเป็นชิ้นงาน(部品、パーツ)หรือผลิตภัณฑ์(製品)วัตถุดิบที่ว่าก็จะได้มาจากผู้ผลิต(メーカー、サプライヤー)ซึ่งแผนกในบริษัทที่จัดหาและประสานงานกับผู้ผลิตก็จะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น 調達部、購買部、purchaseเป็นต้น โดยจะเลือกผู้ผลิตที่ราคาถูกและมีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน ซึ่งการที่จะเริ่มผลิตโดยเริ่มจากรุ่นใหม่New model(新機種)ต้องเริ่มจาก
1.    การเตรียมการวางแผนทั้งเรื่องการสั่งซื้อ,เตรียมวัตถุดิบ, ราคา เป็นต้น  (計画、段取り)
2.    เมื่อเตรียมการสั่งซื้อวัตถุดิบมาแล้วก็ต้องทำการนำวัตถุดิบที่สั่งซื้อมาทำการผลิต ทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดยทดสอบชิ้นงานจำนวนน้อยๆ ก่อน(試作)
3.    ถ้าทดลองประกอบ ทำการทดสอบแล้วผ่าน ก็จะเป็นการทดลองประกอบจำนวนมากว่า ทดสอบจำนวนน้อยไม่มีปัญหาแล้วถ้าทดลองประกอบเป็นจำนวนมากๆ แล้วจะมีปัญหาหรือไม่(量産試作)
4.    ถ้าผ่านขั้นตอนนี้ก็จะเป็นการเริ่มผลิตใช้จริงจำนวนมาก (量産)
เมื่อผลิตได้แล้วก็จะมีการจัดส่งไปยังลูกค้า (お客さん、客先、顧客)โดยแผนกPDCที่มีหน้าที่ประสานงานกับลูกค้าโดยตรง
เริ่มต้นครั้งแรก ให้เห็นภาพรวมก่อนเลยจะมีศัพท์เยอะหน่อย ต่อไปจะค่อยๆ ทยอยแนะนำศัพท์ที่ละคำ2คำครับ หากท่านใดที่เข้าไปทำงานแล้ว ไม่ตรงตามนี้ ก็ขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ เพราะผมเล่าตามความเข้าใจและประสบการณ์ของตัวเองครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น